วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นักเคมี

1.  : เซอร์ฮัมฟรีย์  เดวี        (Sir  Humphry Davy)
ประวัติ : นักเคมีชาวอังกฤษ  เกิด ค.ศ. 1778  ที่เมืองแพนซานช์  แคว้นคอร์นิชแมน  ตาย ค.ศ. 1829  ที่เมืองเจนีวา  รวมอายุ  56  ปี
ผลงานที่สำคัญ : พบก๊าซไตรัสออไซด์  สำหรับใช้เป็นยาสลบ  เพื่อช่วยในการผ่าตัด  ค้นพบธรรมชาติของความร้อน  ค้นพบการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า  จะแยกน้ำออกเป็นก๊าซสองชนิด  คือ  ไฮโดรเจนและออกซิเจน  ค้นพบธาตุโซเดียม และโพแทสเซียม และธาตุอื่นอีก 10 ชนิด  ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย (ตะเกียงเดวี : Davy  lamp) สำหรับใช้ในเหมืองถ่านหิน


 
2.  : ไมเคิล  ฟาราเดย์           (Michael  Faraday)
ประวัติ : นักเคมี และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1791  ที่เมืองเซอร์เรย์  ตาย ค.ศ. 1867  รวมอายุ 76 ปี
ผลงานที่สำคัญ : พิสูจน์ว่า กระแสไฟฟ้า สามารถผลิตได้จากแม่เหล็กไฟฟ้า  ประดิษฐ์ไดนาโม ศึกษากระบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในของเหลวเพื่อชุบโลหะ  ค้นพบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าของฟาราเดย์ (Faraday's  law  of  electrolysis) ค้นพบกฎเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าหลายอย่าง

3.  : หลุยส์  ปาสเตอร์         (Louis  Pasteur)
ประวัติ : นักเคมีชาวฝรั่งเศส  เกิด ค.ศ. 1822  ประเทศฝรั่งเศส  ตาย  ค.ศ. 1895  รวมอายุ  73 ปี
ผลงานที่สำคัญ :  ค้นพบสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ  ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  หรือที่เรียกว่า  จุลินทรีย์  ค้นพบการฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์ (Pasteuris  ation)  ค้นพบวิธีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันพิษสุนัขบ้า  แก้โรคไหมซึ่งเป็นตัวทำลายตัวไหม และอุตสาหกรรมไหมสำเร็จ  ค้นคว้าโรคแอนแทรกศ์สำเร็จ  ค้นคว้าโรคอหิวาต์ไก่สำเร็จ


 
4.  : ดมีตรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ ( Dmitriy Ivanovich Mendeleyev )
ประวัติ : เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834 – ถึงแก่กรรม วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ผลงานที่สำคัญ :  เมนเดเลเยฟเป็นนักเคมีชาวรัสเซีย เขาได้รับการยกย่องมีฐานะบุคคลแรกที่สร้างตารางธาตุสำหรับธาตุเคมีฉบับแรกขึ้นมา แต่เมเดลีฟนั้นมีความคิดแตกต่างจากผู้เขียนตารางธาตุคนอื่นๆ นั่นคือ เขาได้ทำนายคุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ค้นพบด้วย และนอกจากการทุ่มเทให้กับการวางแบบแผนตารางธาตุและเคมีแล้ว เขายังให้ความสนใจปัญหาสังคมด้วย


5. : มารี กูรี (Maria Skłodowska-Curie)  (7 พฤศจิกายน 2410 – 4 กรกฎาคม 2477)
ประวัติ :         มารี เป็นชาวโปแลนด์ บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องทดลองเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จนในปี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบล ต่อมาเธอการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีก
ผลงานที่สำคัญ : นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน

 6. :  สวานเต ออกัส อาร์เรเนียส (Svante August Arrhenius -19 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2402 – 12 ตุลาคม, พ.ศ. 2470)  นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน เดิมเป็นนักฟิสิกส์ แต่ส่วนใหญ่ในวงการยอมรับและเรียกอาร์เรเนียสว่าเป็นนักเคมี
ผลงานที่สำคัญ
     1.ผู้ริเริ่มใช้คำว่า สภาวะเรือนกระจก และยังได้ทำนายว่า การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลจะเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ในบรรยากาศ และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบรรยากาศโลก
        2.ในปี ค.ศ. 1884 ได้เสนอวาทนิพนธ์ (dissertation) ต่อมหาวิทยาลัยแห่งอัปป์ซาลา (The University of Uppsala) โดยได้เสนอว่า ภายใต้อิทธิพลของกระแสไฟฟ้า โมเลกุลจะแตกตัวเป็นอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่มีประจุ พวกที่มีประจุลบคือแอนไอออนจะถูกดูดไปยังขั้วไฟฟ้าบวก ขณะที่พวกที่มีประจุบวกคือ แคทไอออนก็ถูกดูดไปยังขั้วไฟฟ้าลบ และต่อมาในปี ค.ศ. 1903 อาร์เรเนียสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากวาทนิพนธ์เรื่องเดียวกันนี้เอง
        3.ในปี ค.ศ. 1887 อาร์เรเนียสเป็นผู้ตั้งทฤษฎีโดยให้นิยามว่า ” กรด (Acid) คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) ” เช่น HCl, HNO3, H2SO4, CH3COOH เป็นต้น และ  ” เบส (Base) คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ” เช่น NaOH, KOH เป็นต้น
        4.ในปี ค.ศ. 1889 อาร์เรเนียสได้ตั้งสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงตัวของอัตราการเกิดปฏิกิริยากับ เรียกว่า แฟกเตอร์ของอาร์เรเนียส (Arrhenius’ factor หรือ frequencyfactor) เป็นค่าคงตัวที่เป็นผลจากความถี่ของการชนกันและภาวะการวางทิศในการเข้าชนกันของโมเลกุลตัวทำปฏิกิริยา ตัวทำปฏิกิริยาจะมีการใช้พลังงาน(ดูดความร้อน)เพื่อสลายพันธะโดยการเปลี่ยนพลังงานจลน์ที่เกิดจากการชนกันของโมเลกุลตัวทำปฏิกิริยา ถ้าโมเลกุลมีพลังงานจลน์มากก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นและจากทฤษฎีจลน์เชิงโมเลกุลของแก๊สพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแปรผันกับอุณหภูมิแสดงว่าอุณหภูมิจะต้องแปรผันกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา และจากกฎอัตรา ค่าคงตัวของปฏิกิริยาสามารถบอกถึงอัตราการเกิดปฏิกิริยา


7. :  อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ (Albert Hofmann; 11 มกราคม พ.ศ. 2449 - 29 เมษายน พ.ศ. 2551)
ประวัติ : เป็นนักเคมีคนสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งแอลเอสดี" เกิดที่เมืองบาเดน สวิสเซอร์แลนด์ จบการศึกษาด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยซูริก ขณะเรียนมีความสนใจเคมีที่เกี่ยวกับพืชและสัตว์ ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าวิจัยงานสำคัญในโครงสร้างของสารที่มีอยู่ทั่วไปในสัตว์ คือ "สารชูติน" (สารหลักในเปลือกกุ้ง ปูและสัตว์ที่คล้ายกัน) ซึ่งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของฮอฟมานน์
ดร.อัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ ได้เข้าทำงานในแผนกเภสัช-เคมีในสถานนีทดลองของบริษัทแซนดอซ (ปัจจุบันคือบริษัทโนวาทริส) เมืองบาเซลโดยทำการวิจัยพืชหัวที่ใช้ทำยา และเออร์กอต ของพวกเห็ดรา เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสังเคราะห์และทำความบริสุทธิ์ให้กับตัวยาสำคัญที่จะนำมาใช้ทางเภสัชกรรม


8. : โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle
เกิด        วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)
เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ

          บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขามีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์
เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และเป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซและเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน

          บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ลแห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และ
ฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศอิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644
ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire)ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด (Oxfoerd University)

          หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึกเพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทางเคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้นจากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ

          ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่งชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของเกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย

          ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้นนอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศเสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่ สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับการยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า New Experiment Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

           ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาดความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้นจึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอทเข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้นมีระดับของปรอท สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์

           ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของอาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟรวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสารชนิดใดบ้าง ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด

           บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้

           ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมีการเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the Corpuscular Philosophy

           บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และบารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691
ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


9. : โรเบิร์ต วิลเฮล์ม เอเบอร์ฮาร์ด บุนเซน ( Robert Wilhelm Eberhard Bunsen; เกิดเมื่อวันที่31 มีนาคม ค.ศ.1811-16 สิงหาคม ค.ศ. 1899)
ประวัติ :  เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เขาศึกษาสเปกตรัมการแผ่ของวัตถุที่ได้รับความร้อน เป็นผู้ค้นพบซีเซียม (ค.ศ. 1860) และ รูบิเดียม (ค.ศ. 1861) ร่วมกันกับ กุสตาฟ เคอร์ชอฟ บุนเซน  พัฒนากระบวนวิธีวิเคราะห์ก๊าซขึ้นมากมาย เป็นผู้บุกเบิกในสาขาเคมีเชิงแสง (photochemistry) และยังริเริ่มการศึกษาในสาขา organoarsenic chemistry  บุนเซนกับผู้ช่วยในห้องทดลองของเขา คือปีเตอร์ เดซาก ร่วมกันพัฒนา ตะเกียงบุนเซนขึ้นเป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนที่ดีกว่าอุปกรณ์เดิมๆ ในห้องทดลอง
        รางวัลบุนเซน-เคอร์ชอฟเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นตามชื่อของเขากับเพื่อนร่วมงานคือ กุสตาฟ เคอร์ชอฟข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับ Cs (ซีเซียม) และ Rb ที่ Robert Bunsen เป็นผู้ค้นพบ
ซีเซียม เป็นธาตุที่มีลักษณะเป็นเงินทองอ่อนนุ่มเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ธาตุนี้ใช้ในนาฬิกานิวเคลียร์รูบีเดียมเป็นธาตุที่มีสีขาวเงินเนื้ออ่อน Rb-87เป็นไอโซโทปเรดิโอแอคตีฟ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถติดไฟได้เองในอากาศ
        ข้อมูลเพื่อนร่วมงานของ Robert Bunseharr (Gustav Robert Kirchhoff; 12 มีนาคม ค.ศ. 1824-17 ตุลาคม ค.ศ. 1887)เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้มีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า สเปกโตรสโกปีและการแผ่รังสีของวัตถุดำจากวัตถุที่ได้รับความร้อน เขาเป็นผู้กำหนดคำว่า การแผ่รังสีของ “วัตถุดำ” เมื่อปี ค.ศ. 1862 และหลักการสองประการในทฤษฎีวงจรและการแผ่รังสีความร้อน เรียกชื่อว่า กฎของคีร์ชฮอฟฟ์ซึ่งตั้งชื่อตามนามสกุลของเขา รางวัลบุนเซน-คีร์ชฮอฟฟ์ ในสาขาสเปกโตรสโกปีตั้งชื่อตามเขาและเพื่อนร่วมงาน คือ โรเบิร์ต บุนเซน


10. : Glenn T. Seaborg นักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก
ประวัติ : วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เป็นวันที่โลกได้สูญเสียนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกไป Glenn T. Seaborg เกิดที่เมือง Spring field ในรัฐ Michigan สหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2455 มารดาเป็นชาวสวีเดนและบิดาทำงานเป็นช่างเครื่องรถยนต์
ผลงานที่สำคัญ : ชีวิตการทำงาน Seaborg เป็นชีวิตที่จะหาใครใดในคริสศตวรรษนี้มาเทียบเคียงได้ยาก เขาเป็นนักเคมีผู้ได้ยุติสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะธาตุ plutonium ที่เขาพบ คือเชื้อเพลิงสำคัญที่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำระเบิดและระเบิดมหาประลัยที่เขา มีส่วนสร้างขึ้นนี้ได้ทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ต้องยับยั้งชั่งใจในการจะเข้าสู่สงครามกันมานานกว่า 50 ปี เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประธานาธิบดี Kennedy, Johnson และ Nixon เป็นผู้อำนวยการองค์การปรมาณูแห่งชาติของสหรัฐฯ นานถึง 10 ปี เป็นศาสตราจารย์และอธิการบดีของมหาวิทยาลัย California ที่ Berkeley เป็นบิดาของบุตรและธิดา 6 คน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทุ่มเทพลังความคิดในการปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ ของชาติ และเมื่อ 2 ปีก่อนนี้ ธาตุที่ 106 ที่เขาพบก็ได้รับการตั้งชื่อว่า Seaborgium ตามชื่อของเขาทั้งๆ ที่ขณะนั้นเขายังมีชีวิตอยู่ เขาได้พบธาตุที่ 94 คือ plutonium โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคยิงอนุภาค deuteron ให้พุ่งชน uranium ทำให้นิวเคลียสของธาตุทั้งสองหลอมรวมกันในปี พ.ศ. 2483 และเขาได้ตั้งชื่อธาตุใหม่นี้ตามชื่อของดาว pluto นอกจากนี้เขายังได้สังเคราะห์ธาตุที่ 95 Americium (ตามชื่อ America) พบธาตุที่ 96 curium (ตามชื่อของมาดาม Curie ผู้พบ radium) สังเคราะห์ธาตุที่ 98 Californium (ตามชื่อรัฐ California) ธาตุที่ 99 Einsteinium (ตามชื่อของ Einstein) ธาตุที่ 100 fermium (ตามชื่อของ Fermi ผู้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเตาแรกของโลก) ธาตุที่ 101 mendelevium ตามชื่อ Mendelev ผู้พบตารางธาตุให้นักเคมีใช้กันทุกวันนี้ทั่วโลก) ธาตุที่ 102 nobelium (ตามชื่อของ Alfred Nobel ผู้ตั้งรางวัลโนเบล) ธาตุที่ 106 Seaborgium (ตามชื่อของตนเอง) และธาตุที่ 110 ที่ยังไม่มีชื่อ ความสำเร็จในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ๆ เหล่านี้ได้ทำให้ Seaborg ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2499 ร่วมกับ E.M. McMillan นอกจากรางวัลโนเบลแล้ว เขายังได้รับเหรียญและรางวัลเกียรติยศจากสมาคมวิชาการต่างๆ ทั่วโลกอีกมากมาย Seaborg มีงานวิจัยตีพิมพ์กว่า 500 ชิ้น แต่งหนังสือ 16 เล่ม และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก 50 ปริญญา

เมื่อ Seaborg เริ่มชีวิตนักวิจัย P. Abelson และ McMillan ที่ Berkeley ได้เพิ่งพบธาตุที่ 93 คือ neptunium ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สลายตัวโดยการคายรังสี beta แล้วตัวมันที่เหลือเสถียร คือไม่สลายตัวอีกต่อไป เมื่อ Seaborg รู้ข้อมูลนี้ เขามีความคิดว่าธาตุที่หนักกว่าคือธาตุที่ 94 (ซึ่งเป็นธาตุที่ยังไม่มีใครพบ) จะต้องเป็นธาตุที่เสถียรกว่า neptunium และธาตุใหม่นี้น่าจะแยกตัวได้เช่นเดียวกับธาตุที่ 92 (uranium) ซึ่งข้อสันนิษฐานของ Seaborg ที่เกี่ยวกับธาตุใหม่นี้ได้ทำให้คณะนักวิทยาศาสตร์ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งกำลัง สร้างระเบิดปรมาณูของสหรัฐฯ ในโครงการ Manhattan ตระหนักได้ทันทีว่า การแยกธาตุที่ 94 ชื่อ plutonium จากธาตุ uranium นั้นสามารถกระทำได้ง่ายกว่าการแยกธาตุ 235 U จาก 238 U มาก (235 U เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างระบิดปรมาณู)

ถึงแม้กระบวนการแยก 235 U จาก 238 U จะยากเย็นแสนเข็ญสักปานใด แต่ในที่สุดคณะนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Manhattan ก็ประสบความสำเร็จในการแยกมันได้ และเมื่อนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Manhattan มีทั้ง 235 U และ plutonium สหรัฐฯ จึงตัดสินใจระดมทรัพยากรบุคคล สร้างระเบิดปรมาณูทั้งสองรูปแบบ (คือแบบที่ใช้ uranium และ plutonium) โดยได้มอบหมายให้ Seaborg เป็นผู้รับผิดชอบการสร้างระเบิดปรมาณูที่ใช้ plutonium เป็นเชื้อเพลิง

เมื่อ Seaborg และคณะประสบความสำเร็จ สหรัฐอเมริกาก็มีระเบิดปรมาณูที่สามารถใช้การได้ 2 ลูกพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นจำนวนที่อเมริกาต้องการ เพราะอเมริกาตระหนักว่าการทิ้งระเบิดปรมาณูเพียงสองลูกจะยุติสงคราม และประวัติศาสตร์ก็ได้จารึกว่า การคาดคะเนนี้ถูกต้องทุกประการ เพราะเมื่อระเบิด uranium ได้ระเบิดที่ Hiroshima และการระเบิด plutonium ลงที่ Nagasaki รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยินยอมเซ็นสัญญาสงบสงครามโลกครั้งที่สองทันที

คำถามที่น่าสนใจคือ ถ้า Seaborg ผลิตธาตุ plutonium ไม่ได้ ประวัติศาสตร์ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร คำถามนี้ คงไม่มีใครตอบได้อย่างมั่นใจเลย

ตามธรรมดา Seaborg เป็นคนชอบเก็บสะสมวารสาร เขาชอบอ่านวารสารตั้งแต่มีอายุได้ 8 ขวบ การอ่านวารสารทำให้เขารู้จักนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ทำให้รู้เหตุการณ์ค้นพบใหม่ๆ และมีข้อมูลที่จะช่วยให้เขาทำงานวิจัยต่อไปได้ดี เมื่อเขาผละจากงานบริหาร ที่ Washington D.C. เขาก็กลับมาทำงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัย California ที่ Berkeley เขาเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในคุณประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังปรมาณูมาก การยึดติดกับความคิดนี้ได้ทำให้เขาไม่เป็นที่ชื่นชมในบรรดานักนิเวศวิทยานัก และเขารู้สึกว่าผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาในการทำงานเป็นผู้อำนวยการ องค์การพลังงานปรมาณูแห่งชาติของสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯ มีโรงไฟฟ้าปรมาณูเพิ่มมากขึ้น และเขาเชื่อว่า โรงไฟฟ้าปรมาณูเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยแก้ปัญหาพลังงานของมนุษย์ได้ในระยะ ยาว

มรดกหนึ่งที่ Seaborg ได้ทิ้งไว้ให้โลกก็คือ วิธีการผลิตธาตุ plutonium ปริมาณมากๆ และการมี plutonium มากนี้เองที่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Joint Institute for Nuclear Research ที่ Dubna ในประเทศรัสเซียสามารถสร้างธาตุที่ 114 ได้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 นี้ ซึ่งธาตุที่ 114 นี้ถือได้ว่าเป็นธาตุแรกของบรรดาธาตุที่ค่อนข้าง superheavy และเป็นธาตุที่ค่อนข้างเสถียรคือ มีอายุยืนนานถึง 30 วินาที โดยคณะนักวิจัยรัสเซียได้ยิงอะตอมของธาตุ calcium-48 ให้พุ่งชนเป้าที่ทำให้ด้วย plutonium-244 ทำให้เกิดธาตุ 292114

ความสำเร็จล่าสุดในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ๆ คือเมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 นี้เอง คณะนักฟิสิกส์แห่ง Lawrence Berkeley national Laboratory ที่ California ในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่า พวกเขาได้ประสบความสำเร็จในการสร้างธาตุหนักชนิดใหม่ขึ้นอีก 2 ธาตุคือธาตุที่ 116 และ 118 (ธาตุทั้งสองนี้มีอนุภาค proton ในนิวเคลียส 116 ตัว และ 118 ตัวตามลำดับ) โดยการยิง krypton-86 ให้ชนอะตอมของตะกั่ว-208 คณะนักทดลองคณะนี้มีโครงการต่อไปคือจะยิง krypton-86 ให้พุ่งชน bismuth เพื่อสร้างธาตุที่ 119


11. :  คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele
 
เกิด        ค.ศ. 1742 ที่สตารล์สัน โพมีราเนีย ประเทศสวีเดิน
เสียชีวิต 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ประเทศสวีเดิน
ผลงาน  - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric)
            - ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine)
            - ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine)
         เชย์เลอร์เป็นนักเคมี 1 ใน 3 ของนักเคมีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น อีก 2 ท่าน คือ เฮนรี่ คาเวนดิช (Henry Cavendish)
และโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestly) นักเคมีทั้ง 3 ค่อนข้างจะมีลักษณะงานค้นคว้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่าง ๆ กันไปตาม
ธาตุที่ค้นพบ โดยเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่ค้นพบก๊าซไนโตรเจน และคลอรีน

         เชย์เลอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1742 ที่ประเทศสวีเดิน บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่ค่อนข้างยากจนและต้องการให้เชย์เลอร์ดำเนิน
กิจการต่อ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์น้อยมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะ
หนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี อีกทั้งเขามีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการปรุงยาอยู่หลายปีและหลายแห่ง เช่น ที่
โกเตเบิร์ก (Goteburg) มัลโม (Mulmo) สตอกโฮล์ม (Stockholm) อัปซาลา (Upsala) และโคปิง (Koping) ซึ่งทำ
ให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมีมากขึ้น

         เชย์เลอร์ทำการทดลองด้านเคมีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเขาพบก๊าซพิษ (Poisonous) ซึ่งเขาค้นพบระหว่างการ
ทดลองทางเคมีครั้งหนึ่ง ก๊าซพิษที่ว่านี่คือ ก๊าซกรดพรัสซิค (Prussic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ กรดไซยาไนด์ ซึ่งเป็น
ก๊าซพิษที่มีฤทธิ์ร้านแรงมากถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิตได้แม้จะสูดดมเข้าไปเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้เชย์เลอร์ยังค้นพบสารเคมี
ชนิดใหม่อีกหลายชนิด เช่น กรดสารหนู (Arsenic acid) กรดออกซาลิก (Oxalic acid) กรดแลกติก (Lactic acid)
ซึ่งสกัดได้จากนมเปรี้ยว ไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric acid) กรดกำยาน (Benzoic acid) กรดมาลิก (Malic acid)
กรดมะนาว (Citric acid) กรดแกลลิก (Gallic acid) เป็นต้น ก๊าซที่สำคัญที่เชย์เลอร์พบมีอีกหลายชนิด ได้แก่
        - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric) เป็นกรดปูนชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์ในการทำน้ำส้ม
        - ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine) มีสีเขียวปนเหลือง และมีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นสารฟอกสี และ
                  ไนโตรเจน (Nitrogen)
        - ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine) ใช้ประโยชน์ในการทำวัตถุระเบิด, วิธีผสมยาฆ่าเห็ดรา ซึ่งประกอบไป
                  ด้วยสารหนู และสารประกอบระหว่างทองแดง (Copper) เชย์เลอร์ได้ตั้งชื่อยาฆ่าเห็ดราชนิดนี้ว่า ชาเลกรีน
                  (Scheel's Green), พบก๊าซมีเทน (Methane) เป็นสารประกอบของไฮโดรคาร์บอน (Hydro carbon)
                  กับอัลเลน ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ติดไฟได้ มีประโยชน์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก, ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia)
                  ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างไนโตรเจน และไฮโดรเจน แอมโมเนียเป็นก๊าซที่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในทาง
                  อุตสาหกรรมไฟฟ้า และใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ อีกทั้งมีประโยชน์ในทางการแพทย์

         จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาในปี ค.ศ. 1775 เชย์เลอร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งเมืองสตอกโฮม (Stockholm Academy of Science) และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
เชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่มีความพยายาม เขาสามารถค้นพบสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากมายเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม
ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 44 ปี เท่านั้น